Support
jjpra
084-1438999 # 081-3548618
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เครื่องรางของขลัง

tongtip | 13-02-2554 | เปิดดู 56445 | ความคิดเห็น 0

เครื่องรางของขลังหรือวัตถุมงคล กล่าวได้ว่าความเชื่อเหล่านี้ยังเป็นของลึกลับจับต้องไม่
 
ได้เกิดขึ้นมาจากความเชื่อส่วนบุคคล แต่ความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังนั้นได้ถูกปลูก
 
ฝังจากความเชื่อถือของคนต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นศาสตร์หรือความเชื่อที่อยู่
 
คู่กับสังคมมนุษย์แม้ว่ายุคสมัยนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีต่างๆของวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปมาก
 
จนสามารถพิสูจน์หักล้างความเชื่อของสิ่งเหล่านี้ได้เป็นบางส่วน เครื่องรางของขลังเป็น
 
สิ่งที่ใช้ยึดเหนียวจิตใจซึ่งเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ ในสมัยโบราณเมื่อมีสงครามนักรบ
 
หรือทหารก็จะมีเครื่องรางของขลังเอาไว้ติดตัวเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจและ
 
สร้างขวัญกำลังใจให้กัยตัวเอง
       
เครื่องราง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พศ.2542 ให้ความหมายเอาไว้ว่าเครื่อง
 
ราง คือ ของที่นับถือว่าสามารถป้องกันอันตรายได้ ยิงไม่เข้า ฟันไม่ออก  เช่น
 
ตะกรุด เหล็กไหล ผ้ายันต์
   
ของขลัง คือ ของที่มีอำนาจศักสิทธ์ที่เชื่อกันว่าจะดลบันดาลให้สำเร็จได้ตามประสงค์ตาม
 
ที่เจ้าตัวต้องการ
    
 
      การเชื่อเถือเรื่องเครื่องรางของขลังนั้นไม่ได้มีเฉพาะชนชาติไทยเท่านั้นชนชาติอื่นก็มี
 
มีความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังกันมาแล้วเช่นกัน โดยทุกชนชาติจะมีความเชื่อไปใน
 
แนวเดียวกันว่าเครื่องรางของขลังจะช่วยป้องกันคุ้มครองปองกันให้แคล้วคลาดปลอดภัย
 
จากอันตรายทั้งหลายได้วัตถุงมงคลและเครื่องรางของขลัง จึงเป็นศาสตร์ความเชื่ออย่าง
 
หนึ่งที่มีอยู่คู่กับมนุษย์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงทุกวันนี้แม้โลกนี้จะมีเทคโนโลยีที่ก้าว
 
หน้าไปขนาดไหนก็ตาม
    
  สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย ก็มีมาแต่ครั้งโบราณเช่นกัน ดังจะเห็น
 
ได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวใน
 
ยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงคลัวข้าศึก โดยเชื่อ
 
กันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม
 
อันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี
 
 
        เครื่องรางของขลัง จึงนับเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของพระเกจิอาจารย์คนไทย หรือ
 
ฆราวาสผู้มีวิชาอาคมขลัง สมัยเก่าก่อน ที่มีการสืบสานวิทยายุทธ์มาจนถึงทุกวันนี้ และ
 
ส่วนใหญ่จะเป็นฝีมือการจัดสร้างขึ้นมาทีละชิ้น ไม่ซ้ำรูปแบบกัน เพราะไม่ได้ใช้แม่พิมพ์
 
ตายตัวแต่อย่างใด
      
         เครื่องรางของขลัง อันโด่งดังที่คนไทยรู้จักกันมาช้านานแล้ว ก็คือ ตะกรุด ที่สร้าง
 
จากวัสดุต่างๆ เบี้ยแก้ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ลูกอม เขี้ยวเสือกลวง ไม้ครู มีดหมอ
 
รักยม กุมารทอง ฤาษี ชูชก หุ่นพยนต์ ปลัดขิก น้ำเต้า กะลาตาเดียว ราหูอมจันทร์ หมาก
 
ทุย เชือกคาดเอว เชือกคาดแขน แหวนพิรอด นางกวัก พ่อเฒ่า พ่อแก่ (ฤๅษี) ท้าวเวส
 
สุวรรณ ฯลฯ รวมทั้งเครื่องรางที่แกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น หนุมาน ลิง องคต เสือ สิงห์
 
ราชสีห์ คชสีห์ ช้าง แพะ จิ้งจก ตุ๊กแก เต่า ปลาตะเพียน วัวธนู ควายธนู จระเข้ งู ฯลฯ
 
 
ของขลังเหล่านี้จึงเป็นผลงานรังสรรค์ เครื่องลางของขลังที่เกิดมาจากภูมิปัญญาของคนไทยแต่ครั้งโบราณกาล สมควรที่คนรุ่นหลังควรจะได้อนุรักษ์เอาไว้ ด้วยความหวงแหน และภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลังก็ต้องค่อยๆศึกษาแบบทีละอย่างค่อยเป็นค่อยไป วิธีดูพระ

 
เครื่อง-เครื่องรางของขลังในแต่ละยุคสมัยที่ต่างกัน การใช้วัสดุต่างๆและกรรมวิธีในการสร้างของครูบาอาจารย์ต่างๆนั้น ก็จะแตกต่างกันไปวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง อันเก่าแก่อาจจะลดน้อยลงไปในความรู้สึกเชื่อถือ

และศรัทธาของคนรุ่นใหม่ก็ตาม แต่ เครื่องราง ก็ยังเป็นที่ศรัทธาสนใจของผู้คนอีกไม่น้อย โดยเฉพาะนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย โดยเห็นว่า เครื่องราง เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมที่น่าสนใจไม่น้อย แม้
จะไม่เชื่อในเรื่องของอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ ความเข้มขลัง ก็ตาม แต่ เครื่องราง ก็ยังนับเป็นโบราณวัตถุอย่างหนึ่งที่เต็มไปด้วย ศาสตร์และศิลป์ อันทรงคุณค่ายิ่ง ที่จะไม่มีโอกาสพบเห็นจากชนชาติอื่นใด 
 
           เครื่องรางของขลัง ของโบราณาจารย์ไทย ไม่ว่าจะเป็นพระเกจิอาจารย์ หรือเกจิ
 อาจารย์ฆราวาส ผู้มีวิชาอาคมขลัง มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญชำนาญการในเรื่องไสยศาสตร์เป็นอย่างดี ได้จัดสร้างขึ้นนี้ มีความหลากหลายเหลือเกิน แต่ละชิ้นงานล้วนเป็นการสร้างขึ้นด้วยฝีมือชั้นบรมครูอันล้ำเลิศ ทีละชิ้น โดยไม่ซ้ำกัน นับเป็นงานแฮนด์เมดที่เป็นภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริง แม้วิทยาการทางเทคโนโลยีในสมัยนี้จะมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว ความเชื่อในเรื่องของ พระเครื่อง ก็จะยังไมหมดไป
 
 
 
 

ความคิดเห็น

วันที่: Sun Apr 13 22:40:19 ICT 2025

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0